Margin และ Leverage

เทรดฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า พลังงาน และดัชนีหุ้น ได้จากบัญชีเดียว
เข้าไปยังตลาดโลกได้ทันทีด้วยแพลทฟอร์มซื้อขาย XM MT4 หรือ MT5

เลเวอเรจที่ยืดหยุ่นได้ตั้งแต่ 1:1 จนถึง 1000:1

ที่ XM ลูกค้าสามารถเลือกที่จะเทรดด้วยมาร์จิ้นที่กำหนดเดียวกันและเลเวอเรจตั้งแต่ 1:1 ถึง 1000:1 ได้

มาร์จิ้นที่กำหนดและเลเวอเรจของ XM จะอิงตามอิควิตี้ทั้งหมดในบัญชีของท่าน ตามที่อธิบายไว้ด้านล่างนี้

เลเวอเรจ อิควิตี้ทั้งหมด
1:1 ถึง 1000:1 $5 - $40,000
1:1 ถึง 500:1 $40,001 - $80,000
1:1 ถึง 200:1 $80,001 - $200,000
1:1 ถึง 100:1 ตั้งแต่ $200,001 ขึ้นไป

Margin (มาร์จิ้น) คืออะไร

มาร์จิ้น คือ จำนวนหลักประกันเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเครดิตที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการซื้อขายของท่าน

มาร์จิ้นจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของขนาดฐานะสัญญา (เช่น 5% หรือ 1%) และเหตุผลที่ต้องมีเงินทุนในบัญชีเทรดของท่าน คือ เพื่อให้มั่นใจว่ามีมาร์จิ้นเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น สำหรับมาร์จิ้น 1% ฐานะสัญญา $1,000,000 จะต้องมีเงินฝากเป็นจำนวน $10,000

สำหรับ Forex ทองคำ และเงิน ท่านสามารถเปิดฐานะสัญญาใหม่ได้ หากมาร์จิ้นที่กำหนดสำหรับฐานะสัญญาใหม่เท่ากับหรือน้อยกว่าฟรีมาร์จิ้นของบัญชี เมื่อทำการเฮดจิ้ง ท่านจะสามารถเปิดฐานะสัญญาได้แม้ว่าระดับมาร์จิ้นจะต่ำกว่า 100% เนื่องจากมาร์จิ้นที่กำหนดสำหรับฐานะสัญญาที่ทำการเฮดจิ้งเท่ากับ 0

สำหรับตราสารอื่น ๆ ท่านสามารถเปิดฐานะสัญญาใหม่ได้ หากมาร์จิ้นที่กำหนดสำหรับฐานะสัญญาใหม่เท่ากับหรือน้อยกว่าฟรีมาร์จิ้นของบัญชี เมื่อทำการเฮดจิ้ง มาร์จิ้นที่กำหนดสำหรับฐานะสัญญาที่ทำการเฮดจิ้งจะเท่ากับ 50% ท่านจะสามารถเปิดฐานะสัญญาใหม่ที่ทำการเฮดจิ้งได้ หากมาร์จิ้นที่กำหนดขั้นสุดท้ายเท่ากับหรือน้อยกว่าอิควิตี้ทั้งหมดของบัญชี

มาร์จิ้นสำหรับดัชนีหุ้น ดัชนี Thematic และ CFD ของพลังงานเงินสด

XM มีการปรับเปลี่ยนเลเวอเรจสำหรับดัชนีหุ้น ดัชนี Thematic และ CFD ของพลังงานเงินสดโดยอัตโนมัติ เลเวอเรจที่ท่านได้รับจะเป็นค่าที่ต่ำที่สุดระหว่าง (i) เลเวอเรจในบัญชีเทรดของท่าน และ (ii) เลเวอเรจของ CFD ที่กำลังซื้อขาย

การคำนวณมาร์จิ้นจะได้รับการดำเนินการแยกกันเป็นรายตราสาร ซึ่งหมายความว่า เมื่อท่านเปิดฐานะสัญญาบนตราสารหลายตัว มาร์จิ้นจะได้รับการคำนวณแยกกันสำหรับแต่ละฐานะสัญญา

ที่ด้านล่างนี้ ท่านสามารถดูตัวอย่างวิธีการคำนวณมาร์จิ้นตามการเปลี่ยนแปลงของราคาสำหรับดัชนีหุ้น ดัชนี Thematic และ CFD ของพลังงานเงินสดได้ โปรดทราบว่า ตัวอย่างเหล่านี้ใช้สำหรับการอธิบายเท่านั้น และไม่ควรนำไปใช้เพื่อคำนวณการซื้อขาย

มาร์จิ้นที่กำหนด = [Lots*ขนาดสัญญา* ราคาเปิด] / [ที่ต่ำที่สุดระหว่าง (เลเวอเรจของบัญชี, เลเวอเรจของตราสารนั้น)]

ตามที่สูตรข้างต้นระบุไว้ เลเวอเรจของฐานะสัญญานั้น คือ เลเวอเรจที่ต่ำที่สุดระหว่างเลเวอเรจของบัญชีและเลเวอเรจของสัญลักษณ์เฉพาะ

ตัวอย่างที่ 1 : สมมติว่าท่านซื้อขาย US30Cash จำนวน 10 lot ที่ราคาเปิด 34,500 USD ด้วยสกุลเงินหลักของบัญชี USD และเลเวอเรจของบัญชีอยู่ที่ 200:1 แต่เลเวอเรจสำหรับ US30Cash จะอยู่ที่ 500

มาร์จิ้นที่กำหนดสำหรับการเปิดสัญญาซื้อขาย US30Cash (ตัวอย่างที่ 1) = (10*1*34,500) / 200 = $1,725

ตัวอย่างที่ 2 : สมมติว่าท่านซื้อขาย US30Cash จำนวน 15 lot ที่ราคาเปิด 34,500 USD ด้วยสกุลเงินหลักของบัญชี USD และเลเวอเรจของบัญชีอยู่ที่ 888:1 แต่เลเวอเรจสำหรับ US30Cash จะอยู่ที่ 500

มาร์จิ้นที่กำหนดสำหรับการเปิดสัญญาซื้อขาย US30Cash (ตัวอย่างที่ 2) = (15*1*34,000) / 500 = $1,035

Leverage (เลเวอเรจ) คืออะไร

เมื่อท่านใช้เลเวอเรจ ท่านจะสามารถเทรดฐานะสัญญาได้มากกว่าจำนวนเงินในบัญชีเทรดของท่าน จำนวนเลเวอเรจจะแสดงเป็นอัตราส่วน เช่น 50:1, 100:1 หรือ 500:1 สมมติว่าท่านมีเงิน $1,000 อยู่ในบัญชีและท่านเทรดขนาด 500,000 USD/JPY เลเวอเรจของท่านจะเท่ากับ 500:1

เป็นไปได้อย่างไรที่ท่านสามารถเทรดเป็นจำนวนมากถึง 500 เท่าของจำนวนเงินที่ท่านถืออยู่ เหตุผลก็คือ ที่ XM เมื่อท่านเทรดด้วยมาร์จิ้น ท่านจะมีฟรีเครดิตระยะสั้น ซึ่งจะช่วยทำให้ท่านสามารถซื้อด้วยจำนวนเงินที่มากกว่ามูลค่าบัญชีของท่านได้ หากไม่มีเครดิตนี้ ท่านจะสามารถซื้อหรือขายได้ครั้งละ $1,000 เท่านั้น

XM จะตรวจสอบอัตราเลเวอเรจในบัญชีของลูกค้าเป็นประจำ และขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนอัตราส่วนเลเวอเรจ (เช่น ลดอัตราส่วนเลเวอเรจ) ตามดุลยพินิจของบริษัทแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบตามแต่ละกรณี และ/หรือสำหรับบัญชีทั้งหมดหรือใด ๆ ของลูกค้าตามที่ XM เห็นสมควร

เลเวอเรจใช้กับการเทรดที่ XM อย่างไร

ที่ XM ท่านสามารถเลือกระดับของเลเวเรจได้ตั้งแต่ 1:1 ไปจนถึง 1000:1 ขึ้นอยู่กับประเภทบัญชีที่ท่านได้เปิดไว้ โดยระดับของมาร์จิ้นที่ต้องใช้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงสัปดาห์หรือในช่วงข้ามคืนหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ นอกจากนี้ที่ XM ท่านยังสามารถเลือกที่จะเพิ่มหรือลดเลเวอเรจได้ตามที่ท่านต้องการ

ข้อดีและข้อเสียของเลเวอเรจ

การใช้เลเวอเรจทำให้ท่านสามารถทำกำไรได้มากแม้ว่าท่านมีเงินตั้งต้นเป็นจำนวนน้อย แต่ในทางกลับกันท่านสามารถขาดทุนได้มากเช่นกันถ้าท่านขาดการจัดการความเสี่ยงที่ถูกต้อง

นี่คือเหตุผลที่ XM เสนอเลเวอเรจหลายระดับ ซึ่งช่วยให้ท่านสามารถเลือกระดับความเสี่ยงที่ต้องการได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่แนะนำให้ท่านเทรดด้วยเลเวอเรจที่ใกล้เคียงกับ 1000:1 เนื่องจากจะมีความเสี่ยงสูง

Free margin (ฟรีมาร์จิ้น) คืออะไร

ที่ XM ท่านสามารถควบคุมความเสี่ยงได้แบบเรียลไทม์ด้วยการตรวจสอบฟรีมาร์จิ้นและมาร์จิ้นที่ใช้ไป

เมื่อนำมาร์จิ้นที่ใช้ไปและฟรีมาร์จิ้นมารวมกัน จะเท่ากับอิควิตี้ของท่าน มาร์จิ้นที่ใช้ไป คือ จำนวนเงินที่ท่านต้องฝากเพื่อใช้ซื้อขาย (เช่น หากท่านตั้งให้บัญชีมีเลเวอเรจ 100:1 มาร์จิ้นที่ท่านจำเป็นต้องเผื่อไว้คือ 1% ของขนาดการซื้อขาย) ฟรีมาร์จิ้น คือ จำนวนเงินที่เหลืออยู่ในบัญชีเทรดของท่าน ซึ่งจะผันผวนตามอิควิตี้ของท่าน โดยท่านสามารถเปิดฐานะสัญญาเพิ่มเติมได้ด้วยจำนวนเงินนี้หรือให้ชดเชยการขาดทุน

Margin Call คืออะไร

แม้ว่าจะเป็นความรับผิดชอบของลูกค้าแต่ละท่านที่ต้องตรวจสอบกิจกรรมในบัญชีเทรดของตนเอง แต่ XM จะปฏิบัติตามนโยบายการเรียกหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) เพื่อรับรองว่าความเสี่ยงสูงสุดที่อาจเป็นไปได้จะไม่เกินอิควิตี้ของท่าน

เมื่อใดก็ตามที่อิควิตี้ของท่านลดลงมากกว่า 50% ของมาร์จิ้นที่จำเป็นสำหรับการรักษาฐานะสัญญาที่เปิดอยู่ไว้ เราจะแจ้งเตือนให้ท่านทราบด้วยการแจ้ง Margin Call ว่าท่านมีอิควิตี้ไม่เพียงพอที่จะรักษาฐานะสัญญานั้นได้

Stop Out คืออะไร

ระดับ stop-out เป็นระดับของอิควิตี้ที่จะทำให้เกิดการปิดโพซิชั่นที่เปิดอยู่ของท่านโดยอัตโนมัติ Stop-Out คือ ระดับของอิควิตี้ที่ตั้งไว้เพื่อให้ฐานะสัญญาที่ท่านเปิดอยู่ถูกปิดโดยอัตโนมัติ บัญชีของลูกค้าจะถึงระดับ Stop out (การถูกปิดฐานะสัญญาโดยอัตโนมัติ) เมื่อทรัพย์สินทั้งหมดในบัญชีซื้อขายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20 ของมาร์จิ้นที่กำหนดไว้

เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ของเราได้เต็มประสิทธิภาพ อ่านเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าคุกกี้ของท่าน

คำเตือนความเสี่ยง: เงินทุนของท่านมีความเสี่ยง ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราทดอาจไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนบางราย โปรดศึกษาและทำความเข้าใจเอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา